วิธีการดำเนินการวิจัย
                 รูปแบบการวิจัย
                 
การวิจัยประเมินผลครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (Explanatory Research)

 
   การวิจัยเชิงปริมาณใช้การสำรวจ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional Survey) และการศึกษาเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม (Focus           Group Discussion, FGD) เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการเฝ้าระวังฯ
                                                 

                                         

สถานที่ทำวิจัยดังนี้
ภาคจังหวัดที่เลือกจังหวัดสำรอง
กลาง(สคร.4)ราชบุรี*เพชรบุรี**สมุทรสงคราม*อยุธยา**
เหนือ(สคร.10)ชียงราย*เชียงใหม่**ตาก*อุทัยธานี**
ตะวันออกเฉียงเหนือ(สคร.6)อุดรธานี*ขอนแก่น**อุบลราชธานี*นครพนม**
ใต้(สคร.11)พังงา*กระบี่**สงขลา* ประจวบคีรีขันธ์**
ตะวันออก(สคร.3)ฉะเชิงเทรา*ชลบุรี**ตราด* จันทรบุรี**

 

 

 

 

 

 

 

 

 *จังหวัดที่อยู่ในโครงการเฝ้าระวังฯ ** จังหวัดที่ไม่ได้อยู่ในโครงการเฝ้าระวังฯ

    กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มตัวอย่าง
         
การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ
     1. การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการเฝ้าระวังฯ ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรค (สคร.)
         ที่รับผิดชอบงานเฝ้าระวังฯ จำนวน 5 สคร. (สคร.ละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 10 คน) และเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ที่รับผิดชอบงานเฝ้าระวังฯ จำนวน 10 สสจ.
         (สสจ. ละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน)
      2. การสนทนากลุ่ม ประชากรกลุ่มเป้าหมายของโครงการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี ประกอบด้วย ประชากรทั่วไป นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 
          นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนอาชีวศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2  พนักงานในสถานประกอบกิจการ  หญิงตั้งครรภ์ หญิงขายบริการทางเพศ และทหารกอง
          ประจำการ
      การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ

         กลุ่มประชากรกลุ่มเป้าหมายของโครงการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี ประกอบด้วย ประชากรทั่วไป นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 
         นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนอาชีวศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2  พนักงานในสถานประกอบกิจการ  หญิงตั้งครรภ์ หญิงขายบริการทางเพศ และทหารกองประจำการ
         รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เท่ากับ 2,568 คน โดยในแต่ละกลุ่มมีจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
          
                        1. ประชากรทั่วไป จำนวน 367 คน
                        2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  จำนวน 264 คน
                        3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  จำนวน 370คน
                        4.นักเรียนอาชีวศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 จำนวน 366 คน
                        5.พนักงานในสถานประกอบกิจการ จำนวน 358 คน
                        6. หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 334 คน
                        7. หญิงขายบริการทางเพศ จำนวน 206 คน
                        8. ทหารกองประจำการ จำนวน 303 คน 
        ระยะเวลาการเก็บข้อมูลทั้งหมดในการวิจัย
         ปฏิบัติงานในพื้นที่เก็บข้อมูล การเก็บข้อมูล แบบสอบถาม   สัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม ทั้งข้อมูล เชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ ระยะเวลาทั้งสิ้น 8 เดือน ระหว่างเดือน
         กุมภาพันธ์ 2557- กันยายน 2557

        วิธีการเก็บข้อมูล
      
               1. การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยแบบฟอร์มรวบรวม ทบทวนเอกสาร
                     2. การเก็บข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data collection) เชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion, FGD)
                          เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการเฝ้าระวังฯ  โดยมีกรอบการสัมภาษณ์ในประเด็นต่างๆ
                     3. การจัดเก็บข้อมูลปฐมภูมิ (Secondary data collection) เชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่างของโครงการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี  แต่ละโครงการที่มีการดำเนินงาน ของกลุ่มตัวอย่างที่ดำเนินการเฝ้าระวังฯ โดยแบบทดสอบความรู้ ความตระหนัก ทักษะการประเมินความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันเอชไอวีในกลุ่มตัวอย่างของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
 
 
 

ศูนย์วิจัยเศษฐศาสตร์สาธารณสุขและการประเมินผล
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
420/1 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400.โทร.02-6409853